สืบเนื่องจาก พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. / หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน เนื่องจากในช่วงนี้มีคนร้ายแอบอ้างนโยบายรัฐบาลในการแจกเงินดิจิตอล 10,000 บาท แล้วหลอกให้กดลิงก์ควบคุมโทรศัพท์เพื่อโอนเงินออกจากบัญชีหรือเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ อาจทำให้มีประชาชนได้รับความเสียหาย จึงได้เร่งแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีคนร้ายสร้างแอปพลิเคชัน Digital wallet หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อรับสิทธิ์เงินดิจิทัล 10,000 บาท หรือส่งข้อความ SMS หลอกให้กดลิงก์เพิ่มเพื่อนไลน์เพื่อหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์ จากนั้นจะโอนเงินออกไปหรือเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ จากการตรวจสอบพบว่า คนร้ายใช้วิธีการหลอกลวง 2 ช่องทาง คือ 1) หลอกให้ติดตั้งหรือดาวน์โหลดแอพลิเคชันจาก Google Play store และ 2) ส่งข้อความ SMS เข้ามือถือของประชาชน ซึ่งขณะนี้ทางกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ข้อมูลแอปพลิเคชันเงินดิจิทัล 10,000 บาท ดังกล่าวเป็นแอปพลิเคชันปลอมที่คนร้ายทำขึ้นเพื่อหลอกเอาเงินจากประชาชน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้แจ้ง Google ให้ปิดกั้นแอปพลิเคชันดังกล่าวแล้ว
แต่ในส่วนของ sms ที่ส่งไปตามเบอร์โทรศัพท์นั้น ยังมีการส่งอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งหากใครหลงกดลิงก์เข้าไป จะเป็นการให้เพิ่มเพื่อนในไลน์ ชื่อ Thai ID โดยคนร้ายจะแนะนำให้ลงทะเบียนไว้ก่อน แต่เงินดิจิทัล 10,000 บาท ต้องรอรัฐบาลประกาศอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจะส่งลิงก์ลงทะเบียนมาให้ เมื่อกดเข้าไปตามคำแนะนำของคนร้ายที่โทรคุยกับเหยื่อผ่านไลน์ตลอดเวลา
โดยคนร้ายให้โหลดผ่าน chrome ใช้เวลาประมาณ 2 นาที แล้วให้ใส่ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ กดรหัส 6 ตัว 2 ชุด โดยจะแนะนำว่าให้เป็นรหัสที่ใช้ในชีวิตประจำวัน(ส่วนใหญ่เหยื่อจะใช้รหัสตรงกับแอปพลิเคชันธนาคาร) จากนั้นกดยอมรับ 2 ปุ่ม คนร้ายก็จะเข้าควบคุมเครื่อง(Remote) และเข้าถอนเงินจากบัญชีเหยื่อที่มีแอปพลิเคชันธนาคารทั้งหมด
จุดสังเกต

  1. คนร้ายจะอาศัยโอกาสในช่วงฤดูกาล เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่เกิดในช่วงนั้นๆ นำมาหลอกลวง เช่น ช่วงเสีย
    ภาษีที่ดิน และช่วงค่าน้ำประปา ค่าไฟแพงในฤดูร้อน จะหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องโทรศัพท์เพื่อโอนเงินออกไป และ ช่วงหน้าผลไม้ทุเรียน จะหลอกขายทุเรียน เป็นต้น
  2. คนร้ายสร้างแอปพลิเคชันและเปิดให้ดาวน์โหลดและติดตั้งได้จาก Google Play store ซึ่งทางระบบอาจตรวจไม่
    พบความผิดปกติหรือผิดเงื่อนไข จึงสามารถปล่อยให้ดาวน์โหลดได้ จนกว่าจะมีการรายงานของผู้ใช้งานหรือมีหน่วยงานของรัฐแจ้งให้ปิดกั้น
  3. การดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ส่งทางไลน์ จะให้กด 3 ปุ่มด้านล่างขวาหน้าจอ เพื่อเลือกโหลดผ่าน chrome และเครื่องจะเตือนว่าเป็นไลน์อันตราย โดยนามสกุลไฟล์ที่โหลดจะเป็นประเภท .apk
    วิธีป้องกัน
  4. ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์โฆษณาแปลกปลอม หรือกดเพิ่มเพื่อนไลน์ในรูปแบบสแกน QR Code หรือเพิ่มเพื่อนไลน์ทาง ID Line จากคนที่ไม่น่าเชื่อถือ
  5. หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรดาวน์โหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ Apple Store
    โดยติดตามข้อมูลข่าวสารการแจ้งเตือนในส่วนอื่นๆ ประกอบด้วย และอย่าเชื่อคำแนะนำของคนร้ายให้กดเข้าบราวเซอร์อื่น
    3. “เช็ค ก่อน เชื่อ” โดยติดต่อหน่วยงานราชการต้นสังกัดที่มีการแอบอ้าง ก่อนที่จะดำเนินการใดๆ
    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน จึงขอแจ้งเตือนให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบว่าปัจจุบันคนร้ายยังคงใช้วิธีการหลอกโดยอาศัยกลโกงเดิมๆ แต่ได้พัฒนาวิธีการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ ทั้งนี้ขอให้พี่น้องประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารของเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้จากการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล โดยไม่หลงเชื่อคนร้ายแต่อย่างใด ดังนั้นเพื่อให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ในรูปแบบใหม่ สามารถติดตามข้อมูลการแจ้งเตือนภัยออนไลน์ได้ผ่านทาง www.เตือนภัยออนไลน์.com Facebook https://www.facebook.com/เตือนภัยออนไลน์ หมายเลขโทรศัพท์ 081-866-3000 หรือโทรศัพท์สายด่วน 1441 กรณีถูกคนร้ายหลอกลวงแจ้งความตำรวจผ่านระบบ www.thaipoliceonline.com