พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. ได้มอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจป้องกันและปราบปรามการขับขี่รถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น แข่งรถในทาง และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายในการลดความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน จากการขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ โดยในลักษณะก่อความเดือดร้อนรำคาญ ไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่น และความผิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอันจะส่งผลต่อ การก่ออาชญากรรมที่รุนแรงอื่นๆ เช่น ทะเลาะวิวาท หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ โดยเฉพาะการลดความบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดย พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น., พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา รอง ผบช.น. และ พล.ต.ต.ธวัช วงศ์สง่า รอง ผบช.น. กองบังคับการตำรวจจราจร โดย พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ บัณฑิตย์ ผบก.จร., พ.ต.อ.รุ่งสกุล บุญกระพือ รอง ผบก.จร., พ.ต.อ.จามร ทองพรรณ รอง ผบก.จร., พ.ต.อ.พารินท จันทร์เลิศ ผกก.2 บก.จร., พ.ต.ท.อัษฎาวุธ ขวัญเมือง รอง ผกก.งานศูนย์ควบคุมจราจรวิภาวดีรังสิต/ ทางพิเศษ กก.2 บก.จร., พ.ต.ต.ภุชงค์ เม้าทุ่ง สว.งานศูนย์ควบคุมจราจรวิภาวดีรังสิต/ ทางพิเศษ กก.2 บก.จร.กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ โดย พล.ต.ต.วรวิทย์ ญาณจินดา ผบก.สปพ., พ.ต.อ.พิทักษ์ สุทธิกุล รอง ผบก.สปพ., พ.ต.อ.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร รอง ผบก.สปพ., พ.ต.อ.กรกฎ โปชยะวณิช รอง ผบก.สปพ., พ.ต.อ.เด่นหล้า รัตนกิจ รอง ผบก.สปพ., พ.ต.อ.อาวุธ อุดมรัตน์ รอง ผบก.สปพ., พ.ต.อ.อภิฌาน สวัสดิบุตร รอง ผบก.สปพ.และ พ.ต.อ.ธนากร อ่อนทองคำ รอง ผบก.สปพ., พ.ต.อ.วสันต์ ธวัชชัยวิรุตษ์ ผกก.สายตรวจ, พ.ต.ท.คงศักดิ์ ศรีโหร ,พ.ต.ท.วสุเทพ ใจอินทร์, พ.ต.ท.ศตวรรษ คนชุม, พ.ต.ท.ไพบูลย์ สอโส รอง ผกก.สายตรวจฯ, พ.ต.ท.เชษฐพร บัวจันทร์ สว.งานสายตรวจ 1, พ.ต.ต.ณัฐดนัย บำรุงศรี สว.งานสายตรวจ 2 และ พ.ต.ท.พุฒิพัฒน์ โกยมวงษ์เจริญ สว.งานสายตรวจ 3
การแถลงผลการปฏิบัติของกองบังคับการตำรวจจราจร ผลการกวดขันจับกุมผู้ขี่รถยนต์, รถจักรยานยนต์ บนถนนวิภาวดีรังสิตและ บนทางพิเศษในข้อหา ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความเดือดร้อนของผู้อื่นและพยายามขับรถแข่งในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากหัวหน้าพนักงานจราจรรวมถึง ผู้ซ้อนท้าย ซึ่งพบกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ มีพฤติกรรมขับขี่แข่งขันกันบนท้องถนน โดยใช้ช่องทางหลัก จับกุมผู้กระทำความผิด รวมจำนวน 49 คน (ผู้ใหญ่ 43 คน, เด็กและเยาวชน 6 คน) และยึดรถกระบะ 1 คัน, รถยนต์ 1 คัน, รถจักรยานยนต์จำนวน 43 คัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณีที่ 1 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 ผู้ต้องหาทั้ง 8 ราย ยึดรถจักรยานยนต์ 7 คัน รถกระบะ 1 คัน
สถานที่เกิดเหตุ บริเวณ ถนนวิภาวดีช่องด่วน (ขาเข้า) หน้าปั๊ม ปตท. แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
โดยแจ้งข้อกล่าวหา จำเลยที่ 1-5 กระทำผิดกฎหมายในฐานความผิด “ขับรถไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความเดือดร้อนของผู้อื่น และพยายามขับรถแข่งในทางโดย ไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากหัวหน้าพนักงานจราจร” จำเลยที่ 6 กระทำผิดกฎหมาย ในฐานความผิด “สนับสนุนขับรถไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความเดือดร้อนของผู้อื่น สนับสนุนพยายามขับรถแข่งในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นหนังสือจากหัวหน้า พนักงานจราจร” จำเลยที่ 7 กระทำผิดกฎหมายในฐานความผิด “พยายามขับรถแข่งในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากหัวหน้าพนักงานจราจร” จำเลยที่ 8 กระทำผิดกฎหมายในฐานความผิด “สนับสนุนพยายามขับรถแข่งในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากหัวหน้าพนักงานจราจร”
ศาลแขวงดอนเมืองพิพากษา “จำเลยที่ 1-6 จำคุก 1 เดือน ปรับ 6,000 บาท, จำเลยที่ 7 เจ้าของรถยนต์กระบะ (ผู้สนับสนุนแข่งรถในทาง) จำคุก 20 วันปรับ 4,000 บาท โทษจำคุก รอลงอาญา 1 ปี, บริการสังคม 24 ชั่วโมง และริบรถจักรยานยนต์ 7 คันและรถยนต์ 1 คัน”
กรณีที่ 2 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2567 ผู้ต้องหาทั้ง 6 คน ยึดรถจักรยานยนต์ 4 คัน
สถานที่เกิดเหตุ บริเวณ ถนนวิภาวดีขาออก ในช่องทางด่วน ตั้งแต่ หน้าวังเด็ก ถึง หน้าปั๊ม
บางจากดอนเมืองแขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
โดยแจ้งข้อกล่าวหา จำเลยที่ 1,3,6 “ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน, ขับรถในลักษณะที่เห็นได้ว่าไม่คำนึงถึงความปลอดภัย ในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น” และจำเลยที่ 2,4,5 “สนับสนุน ขับรถโดยไม่คำนึงถึง ความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น”
ศาลแขวงพระนครเหนือพิพากษา “จำเลยที่ 1,3,6 จำคุก 1 เดือน 15 วัน ปรับคนละ 3,000 บาท โทษจำคุก รอลงอาญา 2 ปี, คุมประพฤติ 1 ปี, รายงานตัว 4 ครั้ง, พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน, บริการสังคม 24 ชั่วโมง และจำเลยที่ 2,4,5 จำคุก 1 เดือน ปรับคนละ 2,000 บาท โทษจำคุก รอลงอาญา 2 ปี, คุมประพฤติ 1 ปี, รายงานตัว 4 ครั้ง, บริการสังคม 24 ชั่วโมง และริบรถจักรยานยนต์ 4 คัน (รวมมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท)
กรณีที่ 3 เมื่อวันที่ 13 ต.ค.67 ผู้ต้องหาทั้ง 12 คน ยึดรถจักรยานยนต์ 12 คัน
สถานที่เกิดเหตุ บริเวณถนนวิภาวดีช่องด่วนขาออก ทางเข้าวัดเสมียนนารี แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
โดยแจ้งข้อกล่าวหา จำเลยที่ 1 -12 “ขับรถในลักษณะที่เห็นได้ว่าไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น,พยายามแข่งในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร” และจำเลยที่ 11 “ต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการ ตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย”
ศาลแขวงพระนครเหนือพิพากษา “จำเลยที่ 1-10, 12 กักขัง 20 วัน พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยที่ 2,3,4,5,6 และ12 จำนวน 6 เดือน, ริบรถจักรยานยนต์ 11 คัน และจำเลยที่ 11 จำคุก 1 เดือน 20 วัน พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน และริบรถจักรยานยนต์ 1 คัน”
กรณีที่ 4 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2567 ผู้ต้องหาทั้ง 22 คน (ผู้ใหญ่ 16 คน, เด็ก 6 คน) ยึดรถจักรยานยนต์ 19 คัน
สถานที่เกิดเหตุ ถนนวิภาวดีช่องด่วน (ขาออก) หน้าสโมสรทหารบก แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
โดยแจ้งข้อกล่าวหา จำเลยที่ 1-22 “ขับรถไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความเดือดร้อนของผู้อื่นและพยายามขับรถแข่งในทางโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากหัวหน้าพนักงานจราจร” รวมถึงผู้ซ้อนท้าย
ศาลแขวงดุสิตและศาลเยาวชนและครอบครัวกลางพิพากษา “จำเลยที่ 1-4,6-16 กักขังจำนวน 20 วัน, จำเลยที่ 5 (เคยต้องโทษคดีลักทรัพย์) เพิ่มโทษกักขัง 26 วัน และริบรถจักรยานยนต์ 14 คัน และจำเลยที่ 17-22 (เด็กและเยาวชน) ถูกดำเนินการส่ง สถานพินิจ และริบรถจักรยานยนต์ 5 คัน
กรณีที่ 5 สืบเนื่องจากวันที่ 23 ต.ค.2567 ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขยายผลพบว่า เพจเฟซบุ๊กชื่อ “รถบ้านโก๋” มีพฤติกรรมโพสต์ชักชวนให้ออกมารวมตัวแข่งรถในทางสาธารณะ ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งมีผู้ติดตามเพจกว่า 5,000 คน ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พ.ย.67 พิสูจน์ทราบและสามารถจับกุมเจ้าของเพจดังกล่าว 1 คน ราย ยึดรถจักรยานยนต์ 1 คัน
สถานที่เกิดเหตุ ถนนวิภาวดีช่องด่วน (ขาออก) หน้าหน้าสโมสรทหารบก แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
โดยแจ้งข้อกล่าวหา “จัด โฆษณา ประกาศ ชักชวนแข่งรถ และพยายามขับรถแข่งในทาง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากหัวหน้าพนักงานจราจร และขับรถไม่คำนึงถึง ความปลอดภัยและความเดือดร้อนของผู้อื่น”
ศาลแขวงดุสิตพิพากษา “กักขังจำนวน 3 เดือน พร้อมริบรถจักรยานยนต์ 1 คัน”
กรณีที่ 6 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เวลาประมาณ 21.35 น. ปรากฏคลิปวิดีโอ ในสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฟซบุ๊กชื่อเพจ “ควายหลุดถนน v1” เป็นคลิปวิดีโอรถยนต์นั่ง ส่วนบุคคล ยี่ห้อเทสล่า สีขาว ทะเบียน 2ขธ 3 กรุงเทพมหานคร ขับขี่ในลักษณะปาดซ้ายปาดขวาหน้ารถของผู้ใช้ทางคันอื่น บนทางพิเศษศรีรัช จึงติดตามผู้ขับขี่มาดำเนินคดี
สถานที่เกิดเหตุ บนทางพิเศษศรีรัช บริเวณทางร่วมก่อนทางลงพหลโยธิน1(ต่างระดับมักกะสัน) แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
โดยแจ้งข้อกล่าวหา “ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น”
ศาลแขวงดุสิตพิพากษา “จำคุก 1 เดือน ปรับ 5,000 บาท โทษจำคุก รอลงอาญา 1 ปี, คุมประพฤติ 1 ปี, รายงานตัว 4 ครั้ง, บริการสังคม 12 ชม.,พักใบอนุญาตขับขี่ 6 เดือน และริบรถยนต์ 1 คัน”
หมายเหตุ พนักงานสอบสวนได้ทำการปรับเป็นพินัย ข้อหาใบอนุญาตขับขี่แต่สิ้นอายุ จำนวน 2,000 บาท
การแถลงผลการปฏิบัติของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
“191 ทลายร้านขายท่อไอเสียรถจักรยานยนต์ผิดกฎหมาย”
วันเวลาจับกุม/ตรวจยึด วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลาประมาณ 08.00 น.
เป้าหมายที่ปิดล้อมตรวจค้น จำนวน 8 เป้าหมาย
จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 3 ราย
โดยแจ้งข้อกล่าวหาว่า “ทำผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโดยรู้อยู่ว่า
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำจำหน่ายในราชอาณาจักรอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2557 มาตรา 20 ,36 ประกอบมาตรา 48, 55 “
พร้อมด้วยของกลาง
ได้ร่วมกันทำการตรวจยึดท่อไอเสียรถจักรยานยนต์ผิดกฎหมาย ทั้งหมด จำนวน 57 ใบ
นำของกลางส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ มอก. ต่อไป
พฤติการณ์กล่าวคือ
ตามสั่งการ ผู้บังคับบัญชาในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การรักษาความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยให้ กองกำกับการสายตรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ดำเนินการสืบสวนจับกุมผู้ลักลอบจำหน่ายท่อไอเสียรถจักรยานยนต์ผิดกฎหมาย และสืบสวนความผิดเกี่ยวกับแข่งรถในทาง
หรือความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยให้ชุดสืบสวนหาข่าวดำเนินการสืบสวนหาข่าวออกสืบสวน
ร้านขายอุปกรณ์อะไหล่แต่งรถจักรยานยนต์ผิดกฎหมาย หรือตามเพจร้านค้าออนไลน์ กองกำกับการสายตรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ จึงได้กำหนดเป้าหมายเพื่อทำการปิดล้อมตรวจค้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 8 เป้าหมาย จนสามารถจับกุมผู้ต้องหาและทำการตรวจยึดของกลางดังกล่าว มาดำเนินคดีได้